หน้ารวมคอลัมน์สัมภาษณ์
   บทความ
กลับหน้าแรก

ชื่อนิตยสาร

กรุงเทพธุรกิจ
คิด แฟมิลี่
จิตวิวัฒน์
ซีเครท
ธรรมมาตา
ปาจารยสาร
โพสต์ทูเดย์
มติชน
สารโกมล
สารคดี
สาระขัน
สุขใจในนาคร
อิมเมจ
 

หน้ารวมบความ
 

สุขใจในนาคร พฤษภาคม ๒๕๕๒
การเมืองร้อนรุ่ม แต่ใจสงบเย็น
พระไพศาล วิสาโล

ในบรรยากาศที่ร้อนรุ่มแบบนี้ มี ๓ อย่างที่เราควรทำ คือ คือ “มองไกล ใจกว้าง วางได้”

“มองไกล” คือมองย้อนไปในอดีตว่าคนที่คิดต่างจากเราเวลานี้ แต่ก่อนเขาก็เป็นเพื่อนเรา เคยคิดเห็นตรงกับเราหลายอย่าง และอาจเคยร่วมงานกันมามากมาย

“ใจกว้าง” คือยอมรับว่าความแตกต่างเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครที่เห็นเหมือนกับเราในทุกเรื่อง แม้แต่คนที่เรารักและรักเราก็ยังคิดเห็นต่างจากเราในบางเรื่องบางเวลา

“วางได้” ก็คือการรู้จักปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ออกไปจากจิตใจ อะไรก็ตาม หากแบกเอาไว้ย่อมทำให้หนักใจและเป็นทุกข์ แม้แต่ลูก พ่อแม่ หรือคนรัก หากเราครุ่นคิดถึงเขาตลอดเวลาเราก็จะกังวลจนนอนไม่หลับ

อ่านรายละเอียด

 

สุขใจในนาคร มีนาคม ๒๕๕๒
เติมความสุขในยุคเศรษฐกิจติดลบ
พระไพศาล วิสาโล

วันหนึ่งครูชูกระดาษแผ่นหนึ่งให้นักเรียนดู แล้วถามว่านักเรียนเห็นอะไรบ้าง นักเรียนทั้งชั้นบอกเห็นกากบาทสีดำอยู่มุมซ้ายของกระดาษ ครูจึงถามว่าแล้วนักเรียนไม่เห็นสีขาวของกระดาษเลยหรือ บทเรียนครั้งนั้นประทับใจเด็กคนหนึ่งมาก ทำให้เขาพยายามมองหาด้านดีจากทุกสิ่ง ส่งผลให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไป เด็กคนนั้นคือโคฟี่ อานัน ซึ่งต่อมาได้เป็นเลขาธิการสหประชาชาติ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

อ่านรายละเอียด

ท่านอาจารย์พุทธทาสกับวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้
โดยพระไพศาล วิสาโล

ปัจฉิมกถา เนื่องวันล้ออายุท่านพุทธทาสภิกขุเพื่อถวายเป็นอาจาริยบูชา
เมื่อวัน ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑ .
ณ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ่านรายละเอียด

นิตยสารสารคดี : ฉบับที่ 293 :: กรกฎาคม ๕๒ ปีที่ ๒๕
คอลัมน์ริมธาร : มือสมัครเล่นก็เป็นเลิศได้
รินใจ

นับแต่วันนั้น ชีวิตของกิลเบิร์ต คาแปลน (Gilbert Kaplan) ก็เปลี่ยนไป เขากลายเป็นวาทยกรที่โดดเด่นในวงการเพลงคลาสสิคระดับโลก ทั้ง ๆ ที่เขาไม่เคยเรียนหรือฝึกฝนทักษะด้านนี้อย่างเป็นระบบมาก่อนเลย แต่เป็นที่ยอมรับกันว่าหากเป็นซิมโฟนีหมายเลข ๒ ของมาห์เลอร์แล้ว ไม่มีใครที่เป็นวาทยกรได้ดีหรือเด่นเท่าเขา

เจน จาคอบส์ (Jane Jacobs) เป็นคนหนึ่งที่น่ากล่าวถึง แม้เธอเป็นนักเขียนและบรรณาธิการนิตยสารทางด้านสถาปัตยกรรม แต่เธอมิใช่สถาปนิก มิหนำซ้ำยังเรียนไม่จบมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ แต่เมื่อหนังสือของเธอเรื่อง “ความตายและชีวิตของเมืองใหญ่ในอเมริกา” (The Death and Life of Great American Cities) ตีพิมพ์เมื่อปี ๑๙๖๑ วงการสถาปัตยกรรมและการวางผังเมืองในสหรัฐอเมริกาก็สั่นสะเทือนไปทั้งประเทศ และทำให้ทิศทางการพัฒนาเมืองในอเมริกาเปลี่ยนแปลงไป

อ่านบทความทั้งหมด

ขับเคลื่อนชีวิตด้วยจิตวิวัฒน์ (๕)
ทำงานอย่างปล่อยวาง

พระไพศาล วิสาโล

นักทำหนังโฆษณามือทองคนหนึ่งของไทยเล่าว่า บ่อยครั้งที่ผลงานของเขาถูกวิจารณ์โดยคณะกรรมการเซ็นเซอร์ของรัฐ และไม่ยอมให้ออกฉายทางโทรทัศน์ ความรู้สึกอย่างแรกที่เกิดขึ้นกับเขาคือ โกรธ

อ่านบทความ

 

นิตยสาร IMAGE พฤษภาคม ๒๕๕๒
รู้ทันอารมณ์

ภาวัน

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์เอกรุ่นแรก ๆ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ปฏิปทาของท่านงดงาม อีกทั้งคำสอนของท่านก็ลุ่มลึก เพราะเกิดจากการปฏิบัติจนเห็นแจ้งในสัจธรรม

คราวหนึ่งมีคนถามท่านว่า “หลวงปู่ครับ ทำอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้” ท่านตอบสั้น ๆ ว่า “ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง”

อ่านรายละเีอียด

 

มติชนรายวัน วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๑๑๔๕๓
เชื่อกรรมอย่างไรไม่ให้ตกต่ำ

พระไพศาล วิสาโล

แพทย์ผู้หนึ่งล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง เยียวยารักษาเพียงใดก็ไม่เป็นผล อาการทรุดหนักจนต้องใช้เครื่องช่วยชีวิต มิตรสหายหลายคนจึงหันไปพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผู้มีพลังจิต ล่ำลือว่าที่ไหนมีคนแก้กรรมใด ก็เข้าไปหาหมด คำตอบที่ได้รับจาก “ผู้รู้” คนหนึ่งก็คือ สาเหตุที่หมอท่านนี้ป่วยหนักก็เพราะไปริเริ่มและผลักดันให้มีโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรคทั่วประเทศ ทำให้คนไข้จำนวนมากที่ถึงคราวจะต้องตายเพราะทำกรรมเลวในอดีต กลับมีชีวิตรอด เจ้ากรรมนายเวรจึงไม่พอใจ ผลร้ายจึงมาตกที่หมอท่านนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง หมอท่านนี้ต้องชดใช้กรรมที่ไปมีส่วนช่วยให้คนที่สมควรตายกลับไม่ตาย

อ่านรายละเอียด

นิตยสารซีเครท : Vol.2 No.26 25 July 2009
คอลัมน์ Joyful Life & Peaceful Death : ในวิกฤต มีโอกาส
โดย : พระไพศาล วิสาโล

แต่ถึงแม้จะไม่เชื่อในภพหน้า ความตายก็ยังสามารถหนุนเนื่องให้เกิดการยกระดับทางจิตใจได้ตั้งแต่ขั้นสามัญไปจนถึงขั้นสูงสุด คือการบรรลุอรหัตผล ในพระไตรปิฎกมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับบุคคลที่บรรลุธรรมขั้นสูงในขณะที่ความตายมาประชิดตัว อาทิ พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา ในวาระสุดท้ายของพระองค์ทรงประชวรหนัก มีทุกขเวทนาแรงกล้า พระพุทธองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมถึง ๗ วัน ๗ คืน ในคืนสุดท้าย ทรงแสดงธรรมเรื่องความไม่เที่ยง พระเจ้าสุทโธทนะทรงพิจารณาตาม และเห็นแจ้งด้วยพระองค์เองว่าสังขารนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ในที่สุดก็ทรงบรรลุอรหัตผลก่อนจะเสด็จดับขันธ์ในคืนนั้นเอง

อ่านรายละเอียด

จิตวิวัฒน์ มิถุนายน ๒๕๕๒
สุสานกับลายมือบนกำแพง
พระไพศาล วิสาโล

ความยิ่งใหญ่โด่งดังของกำแพงแห่งนี้ดึงดูดคนทั้งแผ่นดินจีนและจากทุกมุมโลกไปเยี่ยมเยือนนับล้านคน เมื่อปีนขึ้นไปได้ไม่กี่สิบเมตร สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้ก็คือเส้นสายลายมือบอกชื่อแซ่ที่เปรอะเปื้อนตลอดแนวกำแพง ยิ่งผนังภายในหอคอยหรือเก๋งจีนด้วยแล้ว ชื่อแซ่ทุกสีทุกขนาดและทุกภาษาจะปรากฏอย่างโดดเด่นเต็มตา ตรงไหนที่มีคนเดินผ่านมาก ก็ยิ่งมีชื่อแซ่เปรอะเปื้อนมากเท่านั้น

อ่านรายละเอียด

นิตยสารซีเครท : Vol.1 No.22 26 May 2009
ขึ้นเว็บ ๑๐ ก.ค. ๕๒ ๒๒.๐๐ น.

Joyful Life & Peaceful Death
ความตายไม่ไกลตัว
พระไพศาล วิสาโล

นักเขียนชื่อดังชาวอเมริกันคนหนึ่งเคยกล่าวว่า “ตายน่ะไม่ยากหรอก หาที่จอดรถสิยากกว่า”
นักเขียนผู้นี้คงตั้งใจพูดให้ขำ เพราะเขามุ่งหมายจะหยอกล้อชีวิตของคนสมัยใหม่ในเมืองใหญ่ที่ไม่มีอะไรน่าปวดหัวเท่ากับการหาที่จอดรถ

อ่านรายละเอียด

 

นิตยสาร IMAGE เมษายน ๒๕๕๒
ขึ้นเว็บ ๑๐ ก.ค. ๕๒ ๒๒.๐๐ น.

เผลอใจ
ภาวัน

เมื่อเราเกลียดสิ่งใดก็ตาม ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทันทีก็คืออยากผลักไสออกไปให้ไกลตัว แต่อีกใจหนึ่งก็อดไม่ได้ที่จะจดจ่อสิ่งนั้น ยิ่งเกลียดก็ยิ่งปักใจจดจ่อ ใช่หรือไม่ว่าเวลาเราเกลียดหรือโกรธใครสักคน เราจะครุ่นคิดถึงคนนั้นหรือการกระทำของเขาซ้ำแล้วซ้ำเล่า กินก็คิด นอนก็คิด จนนอนไม่หลับก็มี

อ่านรายละเอียด

มติชน ๒๕๕๒ มิถุนายน

ปัญญาพาสุข
พระไพศาล วิสาโล

เนื่องจากความสำเร็จในปีแรก โครงการสุขแท้ด้วยปัญญาจึงดำเนินการต่อเป็นปีที่สอง โดยจะให้ทุนสนับสนุนแก่กิจกรรมที่ผ่านการคัดเลือกไม่เกิน ๒ แสนบาทต่อทุน ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่า กิจกรรมที่ทำจะจัดเพียง ๑ ครั้ง ( ไม่น้อยกว่า ๕ วัน ๔ คืน ) หรือ ต่อเนื่องมากกว่า ๑ ครั้งก็ได้ แต่จำนวนผู้เข้าร่วมต้องไม่น้อยกว่า ๓๕ คน โดยเน้นผู้เข้าร่วมที่เป็นเยาวชนคนหนุ่มสาว เปิดรับโครงการระหว่างวันที่ ๑ กรกฎาคม -๑๔ สิงหาคม

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.budnet.org
หรือสอบถามรายละเอียดได้จาก b_netmail@yahoo.com
และโทร ๐๒-๔๒๔-๗๔๐๙, ๐๘-๐๔๕๐-๘๘๙๐

อ่านรายละเอียด

  ปาจารยสาร เมษายน ๒๕๕๒

ศิลปะและสัจธรรมในรส “ชา”
พระไพศาล วิสาโล

ศิลปะและสุนทรียภาพสามารถมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนเราได้หลายระดับ ระดับแรกคือความติดใคร่ใฝ่หา เป็นความรู้สึกอยากชิดใกล้ อยากได้หรืออยากครอบครอง (พุทธศาสนาเรียกว่าราคะ) ระดับต่อมาคือความรู้สึกดื่มด่ำ ปีติ สูงขึ้นมาอีกคือความสงบ และสูงที่สุดคือความรู้สึกแบบ transcendence หรือภาวะที่เหนือสามัญ เป็นสภาวะที่จิตได้สัมผัสกับความจริงขั้นสูงสุดหรืปรมัตถ์ เช่น ความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติและจักรวาล สภาวะที่อัตตาตัวตนได้เลือนหาย ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างฉันกับโลกอีกต่อไป อยู่เหนือบัญญัติหรือความจริงแบบทวินิยม (dualism) เป็นสภาวะที่จิตเปี่ยมด้วยเมตตากรุณาอย่างไม่มีประมาณ

อ่านต่อ.............

ชวนสังคมคิด
ขับเคลื่อนชีวิตด้วยจิตวิวัฒน์ (๔)
งานบำรุงใจ
พระไพศาล วิสาโล

ช่างก่ออิฐสามคนทำงานอยู่ใกล้กัน คนแรกทำอย่างเนือยนาย ก่ออิฐได้ไม่กี่ก้อนก็พักแล้ว ปล่อยเวลาผ่านไปนานถึงเริ่มก่ออิฐใหม่ คนที่สองท่าทางขยันกว่าคนแรก แต่ทำไปก็ดูนาฬิกาไป หน้าตาไม่ค่อยสดใส ส่วนคนที่สามนั้นทำงานอย่างกระฉับกระเฉง แม้เหงื่อจะท่วมตัว แต่ก็มีสีหน้าแช่มชื่น

เมื่อไปถามทั้งสามคนเขากำลังทำอะไรอยู่ คนแรกตอบว่า “ผมกำลังก่ออิฐ ” คนที่สองตอบว่า “ผมกำลังก่อกำแพง” ส่วนคนที่สามตอบว่า “ผมกำลังสร้างวัดครับ”

อ่านต่อ..........

 
H1N1

มติชน พฤษภาคม ๒๕๕๒
อันตรายที่ไม่ได้มาจากศัตรู
พระไพศาล วิสาโล

จริง ๆ แล้วผู้คนไม่ได้ตายเพราะเชื้อไวรัสตัวนี้ แต่ตายเพราะภูมิคุ้มกันของตัวเอง ปอดของผู้ตายถูกทำลายก็เพราะการโจมตีของเม็ดเลือดขาวนานาชนิดที่ตื่นตกใจเมื่อรู้ว่ามีไวรัสแปลกปลอมเข้ามา โปรตีนที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวเหล่านี้รวมทั้งเอ็นไซม์นานาชนิดถูกระดมเพื่อจัดการกับไวรัส แต่สิ่งที่ตามมาคือเส้นเลือดฝอยรวมทั้งเซลล์ในปอดถูกทำลายขนานใหญ่ ผลก็คือเลือดและของเหลวนานาชนิดท่วมปอด จนหายใจไม่ได้ นอกจากนั้นยังเกิดการอักเสบในปอดอย่างรุนแรง ราวกับว่าปอดถูกเผาข้างใน

อ่านต่อ.............

 

นิตยสารสารคดี : ฉบับที่ 291 :: พฤษภาคม ๕๒ ปีที่ ๒๕
คอลัมน์ริมธาร : นรกมิใช่ใครอื่น
รินใจ

นอกจากแสวงหาความสุขจากทรัพย์สมบัติแล้ว เรายังอดไม่ได้ที่จะแสวงหาความสุขจากผู้อื่น ยิ่งว่างเปล่าภายในมากเท่าไร ก็ยิ่งเรียกร้องและคาดหวังจากผู้อื่นมากเท่านั้นว่าจะช่วยทำให้ชีวิตของตนเติมเต็มได้ แต่ได้เท่าไรจึงจะพอ เพราะแม้แต่ความสุขจากรักอันหวานชื่นยังจืดจางได้ ซ้ำร้ายกว่านั้น หากอีกฝ่ายหนึ่งก็ว่างเปล่าภายในเช่นกัน เมื่อต่างคนต่างเรียกร้องและคาดหวังในสิ่งที่อีกฝ่ายไม่มีให้ อะไรจะเกิดขึ้น

Revolutionary Road เป็นภาพยนตร์เรื่องล่าสุดที่ตอบคำถามนี้ได้อย่างสะเทือนใจ

อ่านต่อ.............

 

นิตยสาร IMAGE กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
คนตาบอด
ภาวัน

ชายตาบอดไปเยี่ยมเพื่อนสนิท สนทนากันจนค่ำ เมื่อได้เวลากลับบ้าน เจ้าของบ้านยื่นโคมกระดาษให้ชายตาบอด พร้อมจุดเทียนให้เสร็จ
“ให้ฉันทำไม ฉันไม่ต้องใช้โคมก็เดินกลับบ้านได้”

“ฉันรู้ แต่ถ้าแกไม่ถือไว้ คนอื่นก็อาจจะมาเดินชนแก”

ชายตาบอดรับโคมแล้วก็เดินตรงไปที่บ้าน ระหว่างทางปรากฏว่ามีคนมาเดินชนเขาอย่างจัง ชายตาบอดโมโห โวยเสียงดัง
“ตาบอดหรือไง ไม่เห็นโคมหรือ ?”

อ่านต่อ.............

 

 มติชน มีนาคม ๒๕๕๒
บุญที่ถูกลืม
พระไพศาล วิสาโล

ในทานมหัปผลสูตร อังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่าทานที่ไม่มีอานิสงส์มากได้แก่ “ทานที่ให้อย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ” รวมถึงทานที่ให้เพราะต้องการเสวยผลในชาติหน้า เป็นต้น

อ่านต่อ.............

จิตวิวัฒน์ มีนาคม ๒๕๕๒
สองด้านของความเป็นมนุษย์
พระไพศาล วิสาโล

คงไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดในปีนี้ที่ได้รับทั้งคำชมและคำประณามมากเท่ากับ The Reader ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลระดับโลกหลายรางวัลรวมทั้งตุ๊กตาทองสำหรับดารานำฝ่ายหญิง แต่ในเวลาเดียวกันก็มีนักวิชาการและนักเขียนมีชื่อหลายคนพากันโจมตีภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับตัวละครฝ่ายหญิงคือฮันนาห์ ชมิตซ์ ซึ่งเป็นอดีตผู้ดูแลค่ายกักกันชาวยิวที่เมืองเอาชวิตซ์อันลือชื่อ

อ่านต่อ..............

 

 

รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล www.visalo.org  korobiznet เอื้อเฟื้อพื้นที่   
webmaster    ๒๕๕๒ All Rights ไม่ Reserved