|
|
พุทธศาสนามองว่าทุกข์เป็นสภาวะพื้นฐานของธรรมชาติ
ครอบคลุมสรรพสิ่ง ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งรูปธรรมและนามธรรม สภาวะที่เรียกว่าทุกข์(หรือทุกขลักษณะ)นี้ได้แก่ภาวะที่ไม่คงตัว
คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เพราะมีความกดดัน บีบคั้น ขัดแย้งอยู่ในตัวเองและกับสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา
ความขัดแย้งกับทุกข์เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ทุกข์เกิดเพราะความขัดแย้งบีบคั้น (เช่นความเจ็บป่วยเกิดจากความขัดแย้งบีบคั้นระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในร่างกาย และระหว่างร่างกายกับเชื้อโรค) ขณะเดียวกันทุกข์ก็นำไปสู่ความขัดแย้งได้ด้วย (เช่นความเสื่อมของอวัยวะบางส่วนในร่างกายก็ทำให้เกิดความขัดแย้งกับอวัยวะส่วนอื่นที่ปกติ เกิดสภาวะที่ไม่สมดุลในร่างกาย) ด้วยเหตุนี้ความขัดแย้งจึงเป็นธรรมดาของสรรพสิ่งเช่นเดียวกับทุกข์ นี้หมายความว่าในชีวิตของบุคคล และในความเป็นไปของสังคม เราไม่สามารถหลีกหนีความขัดแย้งได้ ไม่ว่าความขัดแย้งกับตนเอง และความขัดแย้งกับผู้อื่น ความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่เมื่อพูดว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา นั่นมิได้หมายความว่าเราไม่สามารถทำอะไรกับมันได้ ทุกข์นั้นมีหลายระดับหลายประเภท บางประเภทเราไม่สามารถขจัดไปได้ เช่น ความแก่และความตาย ทำได้อย่างมากแค่ชะลอ แต่บางประเภท เราสามารถระงับได้ เช่น ความหิว ความเจ็บปวด ฉันใดก็ฉันนั้น มีความขัดแย้งบางอย่างที่เราสามารถจัดการได้ เราไม่สามารถห้ามความขัดแย้งทางความคิดได้ แม้กระทั่งพระอรหันต์ที่รู้แจ้งในสัจธรรมและปลอดพ้นจากกิเลส ก็ยังมีความเห็นแตกต่างกัน ดังมีตัวอย่างมากมายในพระไตรปิฎก (เช่น ความเห็นไม่ตรงกันระหว่างพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ในข้อที่ว่าสิกขาบทเล็กน้อยที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เพิกถอนนั้นหมายถึงอะไร) แต่เราสามารถเปลี่ยนความขัดแย้งที่เป็นความวิวาทบาดหมางให้เป็นความกลมเกลียวสามัคคีกันได้ ท่าทีต่อการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง เมื่อคนเหล่าอื่นขัดแย้งกันอยู่ ผู้ใดพยายามประสานให้พวกเขาคืนดีกัน ผู้นั้นชื่อว่าเป็น คนมีความรับผิดชอบ เป็นผู้จัดธุระที่ยอดเยี่ยม (ขุ.ชา. ๒๗/๕๔๙) ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยจงมีความพร้อมเพรียงกัน มีความประนีประนอม นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า (ขุ.อป.๓๒/๑) การไกล่เกลี่ยความขัดแย้งเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญมาก เห็นได้จากวินัยของพระสงฆ์ ซึ่งมีข้อกำหนดหรือสิกขาบทมากมายเกี่ยวกับการระงับความขัดแย้ง(อธิกรณ์)ในหมู่สงฆ์ ที่เรียกว่าอธิกรณสมถะ รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยไว้ด้วย นอกจากนั้นพระจริยาของพระพุทธเจ้ายังเป็นแบบอย่างอันดีในเรื่องท่าทีของชาวพุทธต่อความขัดแย้ง เมื่อยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ได้ทรงมีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งหลายครั้ง อาทิ ความขัดแย้งถึงขั้นจะทำสงครามกันระหว่างแคว้นโกลิยะและแคว้นศากยะในกรณีพิพาทเกี่ยวกับแม่น้ำโรหิณี ความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าวิฑูฑภะกับแคว้นศากยะในกรณีดูหมิ่นชาติตระกูล ตรงกันข้ามกับชาวพุทธเป็นอันมากที่เห็นว่าควรปล่อยวางเมื่อผู้อื่นมีความขัดแย้งหรือกระทบกระทั่งกัน พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นหน้าที่ของชาวพุทธในการเข้าไปแทรกแซงเมื่อมีความขัดแย้งกันในชุมชน ดังคราวหนึ่งได้ทรงตำหนิพระอานนท์และหมู่คณะที่วางเฉยเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างพระสารีบุตรกับพระอุทายี ครั้งนั้นพระอุทายีได้คัดค้านคำสอนของพระสารีบุตรถึงขั้นจ้วงจาบจนพระสารีบุตรนิ่งเงียบ พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ไฉนพวกเธอจึงวางเฉยต่อภิกษุผู้เถระซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ เพราะการ ปล่อยให้พระเถระถูกจ้วงจาบ ไม่ถือว่าเป็นความกรุณา (อง.ปญจก.๒๒/๑๑๖) วิเคราะห์ความขัดแย้งแบบพุทธ กรณีขัดแย้งต่าง ๆ กล่าวโดยทั่วไปมีองค์ประกอบหลักๆ ๓
ประการ คือ ๑.ประเด็นปัญหาหรือข้อเรียกร้อง กรณีขัดแย้งส่วนใหญ่จะไม่ได้จำกัดว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางวัตถุ
อำนาจ และความเชื่อ เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น หากเกี่ยวข้องกับทั้ง
๓ อย่าง มากบ้างน้อยบ้าง ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งเกี่ยวกับโครงการสร้างเขื่อน
จะเกี่ยวข้องกับการได้หรือเสียผลประโยชน์ทางวัตถุ (เช่น ได้งบประมาณเพิ่ม
สูญเสียที่ทำกิน ) มีผลทำให้บางฝ่ายมีอำนาจมากขึ้น (เช่น ได้เลื่อนตำแหน่ง
ได้คะแนนเสียง) อีกทั้งยังเป็นผลจากความแตกต่างทางความคิดในเรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วม
ฝนแล้ง รวมไปถึงแนวทางการพัฒนาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก.ตัณหา คือความยึดมั่นในผลประโยชน์ ไม่อยากสูญเสียผลประโยชน์
เช่น ต้องการงบประมาณเพิ่มขึ้น ต้องการค่าชดเชยมากขึ้น ไม่ต้องการสูญเสียผลตอบแทนจากโครงการ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าปปัญจะ ๓ คือกิเลส ๓ ประการที่ทำให้เนิ่นช้า เป็นตัวการทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งยังทำให้ปัญหาค้างคาเนิ่นนานออกไป เนื่องจากเป็นตัวการขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริง หรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกต้องได้ โดยเหตุที่ประเด็นปัญหาและข้อเรียกร้องส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางวัตถุอำนาจหรือศักดิ์ศรี และความเชื่อ ทั้ง ๓ ประการ ในสัดส่วนที่มากบ้างน้อยบ้างดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ดังนั้นความติดยึดของบุคคลหรือคู่กรณีในความขัดแย้งจึงมิได้มีแค่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อย่างใดอย่างหนึ่ง หากมีกิเลสทั้ง ๓ ประการผสมผสานกันมากบ้างน้อยบ้างตามลักษณะของประเด็นปัญหาหรือข้อเรียกร้อง นอกจากความติดยึดในสิ่งที่ตนมีหรืออยากมีอันได้แก่ตัณหา มานะ ทิฏฐิ แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงในการทำความเข้าใจกับกรณีขัดแย้งก็คือ ทัศนคติในระหว่างคู่ขัดแย้ง อันได้แก่อคติที่มีต่อกัน ซึ่งทำให้ความขัดแย้งลุกลามได้ง่าย อคติดังกล่าวได้แก่ ก.โทสาคติ อคติเนื่องจากความเกลียดชัง อคติ ๒ ประการแรกจะมีอยู่มากในความขัดแย้งทั่วไป ทั้งนี้โดยมีความหลงหรือความไม่รู้เป็นตัวปรุงแต่งหนุนเสริมให้อคติ ๒ ประการดำรงอยู่หรือเพิ่มพูนมากขึ้น เช่น การไม่รู้จักกัน หรือการได้ยินคำร่ำลืออย่างผิด ๆ ก็ทำให้ต่างฝ่ายต่างวาดภาพอีกฝ่ายว่าเป็นคนเลวร้าย ขี้ฉ้อ ไม่รักชาติ รับเงินเขามาประท้วง ฯลฯ นอกจากอคติ ๓ ประการดังกล่าวแล้ว อคติประการที่ ๔ ได้แก่ฉันทาคติ คือความลำเอียงเพราะชอบ ก็มีอิทธิพลต่อความขัดแย้งด้วยเช่นกัน แม้จะไม่ได้มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีโดยตรง แต่ก็มีผลต่อผู้คนที่สนับสนุนคู่กรณีแต่ละฝ่าย บ่อยครั้งการให้ความสนับสนุนคู่กรณีแต่ละฝ่ายมิได้เกิดจากความเข้าใจในปัญหาหรือเกิดจากวิจารณญาณ แต่เกิดจากความชอบพอกันเป็นส่วนตัว หรือชอบที่มีความเชื่อคล้ายกัน มีอาชีพเหมือนกัน พูดง่าย ๆ คือเป็น พวกเดียวกัน ทั้งอคติ ๔ ประการ และความติดยึด ๓ ประการนี้ หากจะสรุปรวมสั้น ๆ ก็คือสิ่งที่พุทธศาสนาเรียกว่าอกุศลมูลนั่นเอง ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นอารมณ์พื้นฐานในความขัดแย้งทุกชนิด จะเห็นได้ว่ากรณีขัดแย้งนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของเหตุผลล้วนๆ หรือเป็นเรื่องถูกเรื่องผิดเท่านั้น หากยังมีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในการวิเคราะห์หรือทำความเข้าใจกับความขัดแย้งต่าง ๆ เราจึงไม่อาจละเว้นการทำความเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ดังกล่าวในตัวคู่ขัดแย้งได้ ๓.ปฏิสัมพันธ์หรือกระบวนการ -เจรจาด้วยอารมณ์โกรธ เกลียด ฉุนเฉียว หงุดหงิด วิธีการเหล่านี้ทำให้ความขัดแย้งลุกลามขึ้น เพราะทำให้อคติเพิ่มพูน และทำให้อีกฝ่ายติดยึดในจุดยืนของตนเองหนักแน่นขึ้น โดยที่บ่อยครั้งก็ทำให้ประเด็นความขัดแย้งเปลี่ยนไป เช่น ความขัดแย้งกรณีแม่น้ำโรหิณี เดิมเป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับการแย่งน้ำ แต่พอมีการทะเลาะวิวาทกัน มีการด่าโคตรวงศ์ตระกูลกัน ประเด็นก็เปลี่ยนจากการแย่งน้ำ (ตัณหา) มาเป็นเรื่องการรักษาศักดิ์ศรีหน้าตา (มานะ) จนถึงขั้นจะทำสงครามกัน หลักการของการไกล่เกลี่ย ๒. ช่วยขจัดอกุศลมูลในใจคู่ขัดแย้ง ในการแก้ไขความขัดแย้ง ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่สำคัญประการแรกคือขจัดอกุศลมูลในคู่ขัดแย้งให้หมดไป ไม่ว่า โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งนี้โดยให้กุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ และอโมหะ เข้ามาแทนที่ มีหลักธรรมหลายข้อที่สามารถขจัดอกุศลมูล หรือเปลี่ยนให้เป็นอกุศลมูลได้ อาทิพุทธพจน์ต่อไปนี้ พึงเอาชนะความโกรธด้วยการไม่โกรธตอบ ๒.๑ ลดโทสะ ๒.๒ ลดโมหะ ๓.กระตุ้นให้คู่ขัดแย้งฉุกคิด
ได้สติและหันมาพิจารณาตนเอง ในกรณีพระเจ้าวิฑูฑภะที่จะยกทัพไปทำลายแคว้นศากยะซึ่งเป็นเครือญาติ พระพุทธองค์ก็ใช้วิธีการคล้ายกันนี้ โดยเสด็จประทับใต้ร่มเงาไม้โปร่งต้นหนึ่งกลางทาง เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะเห็นจึงถามพระพุทธองค์ว่า ทำไมไม่ประทับใต้ร่มไม้ที่ทึบ แดดจะได้ไม่ส่อง คำตอบของพระองค์คือ มหาบพิตร ร่มเงาของญาติย่อมร่มเย็นกว่า คำตรัสของพระพุทธองค์ทำให้วิฑูฑภะได้คิด และยกทัพกลับไป ๔.ช่วยให้คู่ขัดแย้งหาคำตอบด้วยตนเอง จากตัวอย่างการไกล่เกลี่ยของพระพุทธเจ้า ๒ กรณี จะเห็นว่าพระพุทธองค์มิได้เป็นผู้ชี้ถูกชี้ผิด
แต่ให้ทั้ง ๒ ฝ่ายพิจารณาด้วยตนเองว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป ตัวอย่างกรณีแม่น้ำโรหิณียังชี้อีกว่า
การตั้งคำถามให้คิดนั้นมีความสำคัญไม่น้อยในการกระตุ้นให้คู่ขัดแย้งค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในการแก้ไขความขัดแย้ง บ่อยครั้งคำถามมีความสำคัญยิ่งกว่าคำตอบ
หน้าที่ประการหนึ่งของผู้ไกล่เกลี่ยจึงได้แก่การตั้งคำถามแก่คู่ขัดแย้ง และควรเป็นคำถามเปิด
(คำถามที่มิได้ลงท้ายว่า ใช่หรือไม่?) เพื่อมิให้เป็นการจำกัดคำตอบ เช่น
กรณีขัดแย้งเรื่องเขื่อน ขณะที่ผู้คนในสังคมโต้เถียงกันแค่ว่า จะเอาเขื่อนหรือไม่
ผู้ไกล่เกลี่ยควรตั้งคำถามว่า จะแก้น้ำท่วมอย่างไร ? แทนที่จะถามว่าจะเอาป่าหรือเอาไฟฟ้า
ควรถามว่า จะได้ทั้งป่าและไฟฟ้าได้อย่างไร? เมื่อคู่ขัดแย้งไว้วางใจในตัวผู้ไกล่เกลี่ยแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการทำให้คู่ขัดแย้งไว้วางใจซึ่งกันและกัน คือไว้วางใจว่าทั้ง ๒ ฝ่ายจะสามารถหาทางออกร่วมกันได้ด้วยการเจรจา ไม่มีการซื้อเวลาโดยใช้การเจรจาหรือการไกล่เกลี่ยเป็นข้ออ้าง ผู้ไกล่เกลี่ยพึงตระหนักว่า เมื่อเกิดความขัดแย้งถึงขั้นทะเลาะวิวาทกัน ไม่มีอะไรที่สำคัญและหายากเท่ากับความไว้วางใจกัน ๖.พูดด้วยสัจจะ เมตตา ขันติ
และสติ พุทธพจน์ข้างล่างนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ไกล่เกลี่ย ตถาคตย่อมกล่าววาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ พุทธพจน์ข้างต้นเน้นสัจจะ เมตตา และปัญญาของผู้ไกล่เกลี่ย แต่จะทำเช่นนั้นได้ต้องมีขันติและสติมาประกอบด้วย หากปราศจากขันติ ผู้ไกล่เกลี่ยย่อมเกิดโทสะได้ง่ายเมื่อเจอกับความโกรธ ความดื้อดึง หรือความหวาดระแวงของคู่ขัดแย้ง ในขณะเดียวกันก็ต้องมีสติ เพื่อรักษาความเป็นกลาง ไม่ให้อคติเกิดขึ้นในใจตน อันจะส่งผลบั่นทอนความไว้วางใจของคู่ขัดแย้งได้โดยไม่รู้ตัว ๗. คุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ย สู่การไกล่เกลี่ยที่ครบองค์ประกอบ พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งอย่างไร เห็นได้จากในวินัยของพระสงฆ์ (ซึ่งมิได้มีแค่สิกขาบท ๒๒๗ ข้ออย่างที่เข้าใจกัน) มีข้อกำหนดอย่างละเอียดเกี่ยวกับการระงับความขัดแย้งในหมู่สงฆ์ (อธิกรณสมถะ) โดยใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การตัดสินโดยเสียงข้างมาก (เยภุยยสิกา) การคืนดีทั้ง ๒ ฝ่าย โดยให้เลิกแล้วต่อกัน (ติณวัตถารกวินัย) อย่างไรก็ตามวิธีการระงับความขัดแย้งดังกล่าวใช้เฉพาะกับพระสงฆ์ มิได้ใช้ทั่วไป อีกทั้งในทางปฏิบัติก็เอามาใช้ภายในหมู่พระสงฆ์น้อยมากจนแทบจะเลือนหายไป ดังนั้นจึงมิได้มีการพัฒนาให้สอดคล้องกับสังคมสมัยใหม่เลย อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้มีการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยมากพอสมควร ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายมาก อันอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ ขณะเดียวกันในส่วนที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาซึ่งเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของความขัดแย้ง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาแนวคิดและวิธีการในการจัดการกับองค์ประกอบข้อนี้มากเช่นกัน (เช่น การแยกแยะระหว่าง จุดยืน หรือ position กับ ความต้องการ หรือ interest) แนวคิดและวิธีการเหล่านี้มีประโยชน์มาก และสอดคล้องกับหลักการระงับความขัดแย้งแบบพุทธ ดังนั้นจึงน่าที่จะนำมาประยุกต์ให้เข้ากับกระบวนการไกล่เกลี่ยแบบพุทธได้โดยไม่ยาก ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการกับความขัดแย้งแบบพุทธครอบคลุมทั้ง ๓ องค์ประกอบ ควรกล่าวในที่นี้ว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยแบบพุทธตามที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ก็สามารถเข้ามาเสริมกับวิธีการไกล่เกลี่ยแบบตะวันตกได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะการระงับความขัดแย้งแบบตะวันตกนั้นมักจะให้ความสำคัญกับเรื่องประเด็นปัญหาและกระบวนการมาก ขณะที่เรื่องคนและอารมณ์ความรู้สึกดูเหมือนจะไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก ตรงนี้เองที่กระบวนการไกล่เกลี่ยแบบพุทธจะเข้ามาเสริมได้ เพราะให้ความสำคัญกับเรื่องความติดยึดและอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นอุปสรรคต่อการระงับความขัดแย้ง กล่าวได้ว่ามิติด้านอารมณ์นั้นเป็นทั้งจุดเริ่มต้นของกระบวนการไกล่เกลี่ยที่พึงปรารถนา และเป็นจุดสุดท้ายที่ชี้วัดว่าการไกล่เกลี่ยนั้นประสบผลหรือไม่ การไกล่เกลี่ยใด ๆ แม้จะมีข้อสรุป แต่ถ้าไม่สามารถขจัดอคติและความระแวงต่อกันได้แล้ว ย่อมไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นความสำเร็จได้เลย |
รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล
วิสาโล www.visalo.org korobiznet
เอื้อเฟื้อพื้นที่
|